ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ มีดังนี้
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
- สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีวาระ 4 ปี
- วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
- ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
- อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
- รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
- มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
- มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
- มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
- มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
- มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
- มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
- ศาลชั้นต้น
- ศาลอุทธรณ์
- ศาลฎีกา
การบริหารราชการแผ่นดิน
การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง และกรม ตามลำดับ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
จังหวัด และอำเภอ ตามลำดับ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล
*หมายเหตุ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เป็นเขตการปกครองพิเศษ
ที่มา
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/human_society/17.html
http://members.tripod.com/78_2/now.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น